วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

1.สสาร (Matter) หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ1.1) ของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างขอบเขตที่แน่นอน โมเลกุลอยู่ชิดกันมากที่สุด1.2) ของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง1.3) ก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก
2.สาร (Substance) หมายถึง สสารนั่นเอง สสารเป็นคำรวมๆ แต่ถ้าพิจารณาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเรียกว่าสาร เช่น กระป๋องเป็นสสาร แต่เนื้อกระป๋องเป็นโลหะจัดเป็นสาร สารแบ่งตามลักษณะเนื้อสารได้ 2 ชนิดดังนี้2.1) สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันทุกส่วน มีสมบัติเหมือนกันไม่ว่าจะพิจารณาส่วนใดของสาร จะมองด้วยตาเปล่า หรือแว่นขยายแล้วเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอดเนื้อสาร เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ เป็นต้น2.2) สารเนื้อผสมหมายถึง สารที่เกิดจากการรวมกันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยไม่ผสมกลมกลืนกัน แต่ละส่วนมีสมบัติต่างกัน หรือคือสารที่มองด้วยตาเปล่าแล้วเป็นเนื้อผสม เช่น พริกผสมเกลือ เป็นต้น3.สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย การนำไฟฟ้า จุดเดือด และการเผาไหม้ เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกันทุกประการ สามารถนำมาจัดจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ได้ สมบัติของสารได้แก่ สี กลิ่น รส จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การเป็นสนิม ความเป็นกรด-เบส โดยทั่งไปสมบัติของสารจำแนกได้ 2 ประเภท คือก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองง่ายๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างทางกายภาพได้แก่ สถานะ รูปร่าง สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความร้อนแฝง ความถ่วงจำเพาะ เป็นต้นข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น ในการศึกษาสมบัติของสารนั้น สมบัติบางประการสามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก และบางประการต้องทดลองจึงจะสังเกตเห็นได้ เช่น กำมะถัน และอะลูมิเนียมซัลไฟด์มีสมบัติหลายประการที่เหมือนกัน แต่ก็มีสมบัติหลายประการที่แตกต่างกัน

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552







โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุโครงสร้างอะตอมโครงสร้างอะตอมอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบกลุ่มหมอก ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก 3 ชนิดได้แก่ นิวตรอน (Neutron) โปรตอน (Proton) และอิเล็กตรอน (Electron)มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางซึ่งภายในประกอบด้วยอนุภาคของนิวตรอนและโปรตอนอยู่ อาจเรียกว่านิวคลิออน (Nucleon) มีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียส ซึ่งไม่สามารถกำหนดความเร็ว ทิศทางและตำแหน่งที่แน่นอนได้ จึงทำให้โอกาส ที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณหนึ่งๆไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่สามารถพบอิเล็กตรอนได้ถูกเรียกว่า ออร์บิทัล (Orbital)บริเวณที่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่หนาแน่นที่สุด ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 1 และเมื่อห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ความหนาแน่นของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนจะน้อยลง ค่าของระดับพลังงานของอิเล็กตรอนจะถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 2 n = 3 n = 4 ตามลำดับ









ตารางแสดงมวลและประจุของอนุภาคมูลฐานในอะตอมการจัดเรียงอิเล็กตรอนการจัดแบ่งอิเล็กตรอนที่โคจรในอะตอมจะแบ่งตามกลุ่มของระดับพลังงาน (n) โดยจำนวนอิเล็กตรอนที่มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงานมีค่าไม่เกิน 2n2n = 1 จำนวน 2 อิเล็กตรอนn = 2 จำนวน 8 อิเล็กตรอนn = 3 จำนวน 18 อิเล็กตรอนn = 4 จำนวน 32 อิเล็กตรอนจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุด (Valence Electron) จะมีได้มากที่สุดไม่เกิน8 อิเล็กตรอนเลขอะตอม (Atomic Number : Z) คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของแต่ละอะตอมของธาตุ ซึ่งปกติอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวน ประจุบวกเท่ากับประจุลบเสมอ จึงทำให้จำนวนโปรตอนกับจำนวนอิเล็กตรอนของธาตุมีค่าเท่ากัน-เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน-เลขมวล (Mass Number : A) คือ ผลรวมของจำนวนนิวตรอนกับจำนวนโปรตอนที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม ยกเว้นอะตอมของไฮโดรเจน ซึ่งมี จำนวนโปรตอน 1 ตัว ไม่มีนิวตรอนเลขมวล = จำนวนโปรตอน + จำนวนนิวตรอน= เลขอะตอม + จำนวนนิวตรอนตารางธาตุ

















ตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยประวัติศาสตร์ของตารางธาตุเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาแหล่งอ้างอิง : http://edu.e-tech.ac.th/somchai/unt7/un7.htmlhttp://th.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุhttp://student.mahidol.ac.th/~u4903088/Chem-neon/Periodic_Table.jpg2.พันธะเคมีพันธะโควาเลนต์ (อังกฤษ:Covalent bond) คือพันธะเคมี (chemical bond) ภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง พันธะโควาเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโควาเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดของตัวเองให้เต็ม ดังนั้นอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโควาเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆ กับพันธะไอออนิก พันธะโควาเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโควาเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโควาเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโควาเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้พันธะเคมี แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (share) ของอะตอมธาตุอโลหะ เพื่อทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด หรือเหมือนแก๊สเฉื่อยอะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจนถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่ เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจนถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจนพันธะไอออนิก (Ionic bond) คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation) และไอออนลบ (anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะโดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity) สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน เช่น เมื่อโลหะเสียอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนบวกพันธะโลหะ (Metallic bond) หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของโลหะ อยู่ด้วยกันในก้อนของโลหะ โดยมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ โดยที่เวเลนต์อิเล็กตรอนนี้ไม่ได้เป็นของอะตอมหนึ่งอะตอมใดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทุกๆอะตอมของโลหะจะอยู่ติดกันกับอะตอมอื่นๆ ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้โลหะไม่มีสูตรโมเลกุล ที่เขียนกันเป็นสูตรอย่างง่าย หรือสัญลักษณ์ของธาตุนั้นเองแหล่งอ้างอิง http://learners.in.th/file/dawood/chemical-bond.doc3.ปฏิกิริยาเคมีคือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอนในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี



















ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า เด็กชายจิรวัฒน์ บุรี และคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

รวม web กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
รวม web กลุ่มสาระ กอท.
รวม web กลุ่มสาระศิลปะ
รวม web กลุุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
รวม web กลุ่มสาระสังคมฯ ศาสนา
รวมweb กลุ่มสาระคณิตศาตร์
รวมweb กลุ่มสาระภาษาไทย
รวมweb กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สาระน่ารู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์เนื้อหาสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ภาษาต่างประเทศสาระน่ารู้ เนื้อหากลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกลุ่มสาระวิชาภาษาไทย
สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ศิลปศึกษาและดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษาและดนตรี
การงานอาชีพและเทคโนโลยีกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ความรู้
Backward Design
skooolthai
กรมอุตุนิยมวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ข่าวสด
ครูจูดี้ โรงเรียนสุพีเรีย รัฐวิคอนซิน สหรัฐอเมริกา
ครูฉลิต ฉายกี่ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูบ้านนอก
ครูประนอม ฉายกี่
ครูราตรี โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวันเพ็ญ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวีระศักดิ์
ครูไทย
ครูไทยแลนด์ดอทเน็ต
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
จิระวัฒน์ บุรี 1/3
ผอ.คณิตพันธ์
ผอ.เฟรด สหรัฐอเมริกา
พระอภัยมณี
พันธะเคมี
ฟิสิกส์นิวเคลียร์
มติชน
ระบบประสาท
ศูนย์...ไม่ศุนย์
สอบครูดอทเน็ต
สังข์ทอง
ห้อง 4/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
ห้อง 6/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
อ.จิระ งอกศิลป์
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
เดลี่นิวส์
โลกและดาราศาสตร์
ไทยรัฐ

คลังบทความของบล็อก
2009 (78)
มิถุนายน (10)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช
การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช ในดินมีน้ำอยู่บ...
ราก
การอบรม ICT ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา รร.สุโขท...
ไหว้ครู2552
การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์เยื่อผ่าน คือ การลำเล...
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เซลลà¹...
ออร์แกเนลล์ ที่มา http://images.google.co.th/img...
เซลล์พืช
พฤษภาคม (17)
ประวัติการค้นคว้าเรื่องเซลล์
เซลล์
ที่มา http://weerasak.net/image/JJ.gif การใ...
ที่มาhttp://techno.obec.go.th/content/PhysicNucle...
พระอภัยมณี
ที่มาhttp://jove.prohosting.com/namtarn/
lesa project
นักวิทยาศาสตร์ของโลก
ที่มา http://www.tmd.go.th/index.php
แนะนำ น่าอ่าน
ที่มา http://www3.ipst.ac.th/physics/index.php?o...
คู่มือการวัดผลวิทยาศาสตร์ วัดผลและประเมินผลวิทยาศา...
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (แบบ 5 E) กระบวนการสืบเส...
ลักษณะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะว...
ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ ...
จะเกิดวิกฤติโลกปี ค.ศ. 2030ผู้นำสูงสุดทางวิทยาศาสต...
อเมริกันตกงานหันไปเรียนออนไลน์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ...
เมษายน (9)
เยียวยา คศ.3 ทุกระดับ
มาเตรียมตัวก่อนเยียวยากันเถอะ(ตอนที่ 2 ตามหลักสูตร...
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาท...
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
วันที่ วิชา ค่าอบรม (บาท) 25 เม.ย 2552 _ การจัดดอก...
บีบีซีชี้ชัดเสื้อแดงก่อจลาจลไม่ใช่ประชาธิปไตย
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค 7 เม.ย.2552
เปิดเคล็ดลับ รับหน้าร้อน
ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์
มีนาคม (4)
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-...
ไฮโดรโปนิกส์
ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม
แลกเปลี่ยนครูไทย-อเมริกา
กุมภาพันธ์ (10)
มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำต...
พายุที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับขนา...
ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,580...
ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,580...
แนวปะทะอากาศเมื่อมวลอากาศ 2 มวลเคลื่อนตัวมาพบกันเข...
การพยากรณ์อากาศ คือ การคาดหมายสภาวะอากาศและปรากฏกา...
การพยากรณ์อากาศ คือ การคาดหมายสภาวะอากาศและปรากฏกา...
อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และที่หุ้มห่อโลกจากตั้งแ...
พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย (Tropical cyclone in Th...
มกราคม (28)
2008 (25)
ธันวาคม (13)
พฤศจิกายน (12)

คลังบทความของบล็อก
2009 (90)
กรกฎาคม (12)
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระ...
ในพืชเราเรียกการหายใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซ ราก ลำต้...
1. การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้...
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร. สมัคร...
สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นปรากฏ...
สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552 วรเชษฐ์ บุญปลอด เช้าว...
การถ่ายละอองเกสร การถ่ายละอองเกสร คือ วิธีการที่...
ดอกไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญของพืช
ส่วนประกอบของดอกไม้ ในดอกครบส่วน (completed flo...
การสืบพันธุ์ คือ กระบวนการของสิ่งมีชีวิตในการสร้า...
วันเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11...
วันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘
มิถุนายน (10)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช
การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช ในดินมีน้ำอยู่บ...
ราก
การอบรม ICT ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา รร.สุโขท...
ไหว้ครู2552
การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์เยื่อผ่าน คือ การลำเล...
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เซลลà¹...
ออร์แกเนลล์ ที่มา http://images.google.co.th/img...
เซลล์พืช
พฤษภาคม (17)
ประวัติการค้นคว้าเรื่องเซลล์
เซลล์
ที่มา http://weerasak.net/image/JJ.gif การใ...
ที่มาhttp://techno.obec.go.th/content/PhysicNucle...
พระอภัยมณี
ที่มาhttp://jove.prohosting.com/namtarn/
lesa project
นักวิทยาศาสตร์ของโลก
ที่มา http://www.tmd.go.th/index.php
แนะนำ น่าอ่าน
ที่มา http://www3.ipst.ac.th/physics/index.php?o...
คู่มือการวัดผลวิทยาศาสตร์ วัดผลและประเมินผลวิทยาศา...
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (แบบ 5 E) กระบวนการสืบเส...
ลักษณะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะว...
ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ ...
จะเกิดวิกฤติโลกปี ค.ศ. 2030ผู้นำสูงสุดทางวิทยาศาสต...
อเมริกันตกงานหันไปเรียนออนไลน์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ...
เมษายน (9)
เยียวยา คศ.3 ทุกระดับ
มาเตรียมตัวก่อนเยียวยากันเถอะ(ตอนที่ 2 ตามหลักสูตร...
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาท...
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
วันที่ วิชา ค่าอบรม (บาท) 25 เม.ย 2552 _ การจัดดอก...
บีบีซีชี้ชัดเสื้อแดงก่อจลาจลไม่ใช่ประชาธิปไตย
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค 7 เม.ย.2552
เปิดเคล็ดลับ รับหน้าร้อน
ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์
มีนาคม (4)
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-...
ไฮโดรโปนิกส์
กุมภาพันธ์ (10)
มกราคม (28)
2008 (25)
ธันวาคม (13)
พฤศจิกายน (12)
ghaph
captivat
http://www.ipst.ac.th/science/

ภาพถ่ายดาวเทียม : พยากรณ์อากาศ
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น -1
ถ่ายภาพสินค้าแบบง่ายสไตล์ดิจิตัล
ไกด์ไลน์สำหรับการวางตำแหน่งในการถ่ายภาพ
ทดสอบการวางตำแหน่งภาพให้เป็นไปตามกฏ
ตัวอย่างภาพของกฏ Rule of Thirds
เรียนรู้การปรับกล้องก่อนใช้งานด้วยภาพจริง
ตำราการถ่ายภาพเบื้องต้น
อยากถ่ายรูปให้สวย+เข้าใจวิธีการถ่ายภาพให้ได้ดี มาอ่านที่นี่ครับ
พยากรณ์อากาศประเทศไทย
เทคนิคการถ่ายภาพ
ทดสอบเลนส์ CANON (EF-S 18-55 IS)
(บันทึก) การขี่จักรยานมาทำงานของ-เสือพุงขาว
BlogGang.com
ที่มาhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chs&month=18-12-2008&group=31&gblog=14

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เคมีบ้านครูยุธ
ฟิสิกส์ราชมงคล
ประวัตินักวิทยาศาสตร์
เคมีบ้านครูยุธ


การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....
คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระจะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....1. ตัวอย่างการวิเตราะห์หลักสูตรก่อนเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้3. ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน3.1 ตัวอย่างแผน STAD 3.2 ตัวอย่างแผน CIPPA 3.3 ตัวอย่างแผน Backwards++จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 15. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 26. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 37. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 48. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 59. ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม10.1 การจัดเรียงภาคผนวก 10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวฃาญ11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/112. ตัวอย่างนวัตกรรม12.1 ตัวอย่าง บทเรียนสำเร็จรูป
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์12.3 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ15. การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม.


เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย(ซาวด์)
เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงสรรเสริญพระบารมี(ซาวด์)
เพลงสดุดีมหาราชาเพลงสดุดีมหาราชา(ซาวด์)
เพลงภูมิพลังแผ่นดินเพลงภูมิพลังแผ่นดิน(ซาวด์)
เพลงมหาฤกษ์(ยาว)
เพลงมหาฤกษ์(สั้น)
เพลงมหาชัยกราวกีฬา

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่ของการผ่านเซลล์



ในพืชเราเรียกการหายใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซ ราก ลำต้น และใบ มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซด้วยตัวเอง(รากและลำต้นมีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มากนัก) ในขณะที่พืชสังเคราะห์ด้วยแสง ที่ใบจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น โดยเฉพาะใบที่มีสีเขียวมากสุด ผิวนอกสุดด้านบนของใบจะมีสารเคลือบผิวที่เรียกว่า คิวทิเคิล (Waxy Cuticle) เคลือบไว้ มีลักษณะเป็นมัน แห้ง เรียบ ป้องกันการระเหยของน้ำ รากจะรับเอาออกซิเจนจากอากาศผ่านเข้าไปตามช่องว่างระหว่างอนุภาคของดิน ผ่านเข้าสู่ขนราก ออกซิเจนผ่านเข้าสู่ไซโทพลาสซึมของขนรากแล้วแพร่กระจายไปยังเซลล์ข้างเคียงต่อไป คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์จะแพร่ออกในทิศทางตรงข้ามกับออกซิเจน 3. ระบบสืบพันธุ์การสืบพันธุ์(Reproduction) เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตในการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไว้ ประเภทของการสืบพันธุ์การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) หมายถึง การสืบพันธุ์ที่ต้องมีการผสม ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ คือ ดอกดอก คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่เจริญและเปลี่ยนแปลงมาจากกิ่ง เพื่อการสืบพันธุ์ ดอกมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นชั้นนอกสุดของดอก มักมีขนาดเล็กและมีสีเขียว มีหน้าที่ป้องกันดอกอ่อนที่ตูม 2) กลีบดอก (Petal) เป็นชั้นที่สวยงาม มักมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยในการผสมเกสร 3) เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ก้านเกสรตัวผู้และอับเรณู ภายในอับเรณู จะมีละอองเรณูซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ 4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นชั้นในสุดของดอก ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมียอยู่ส่วนบนสุด ส่วนล่างที่พองเป็นกระเปาะ เรียกว่า รังไข่(Ovary) ตั้งอยู่บนฐานรองดอก ภายในรังไข่มี ออวุล (Ovule) ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ภายใน ออวุล จะสามารถแบ่งตัวเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ต่อไปประเภทของดอก ดอกไม้แม้จะมีรูปร่างแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน ถ้านำส่วนประกอบของดอกไม้มาแบ่งตามเกณฑ์ โดยใช้เกณฑ์ใหญ่ๆ 2 เกณฑ์ ได้แก่ใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งดอกออกเป็น 2 ชนิด 1) ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ข้าว มะม่วง กุหลาบ ชบา ต้อยติ่ง มะเขือ พริก บัว ผักบุ้ง และมะลิ เป็นต้น 2) ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect Flower) หมายถึง ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ข้าวโพด ตำลึง ฟักทอง มะละกอ เงาะ และมะยม เป็นต้นการใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ แบ่งดอกออกเป็น 2 ชนิด 1) ดอกครบส่วน (Complete Flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ชั้น คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เช่น กุหลาบ ผักบุ้ง ชบา มะลิ และ แค เป็นต้น 2) ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete Flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ ทั้ง 4 ชั้น เช่น ข้าวโพด กล้วยไม้ เฟื่องฟ้า บานเย็น มะละกอ ตำลึง ฟักทอง แตงกวา บวบ และข้าว เป็นต้นสรุปได้ว่า ดอกครบส่วนคือดอกสมบูรณ์เพศ ดอกไม่ครบส่วนจะเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศเสมอ การถ่ายละอองเรณู (Pollination) หมายถึง การที่ละอองเรณูที่แก่จัดแล้วปริแตกออกจากอับละอองเรณู ปลิวไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย การถ่ายละอองเรณูถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสืบพันธุ์ของพืช การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยอาศัย ลม น้ำ และสัตว์ เช่น นก แมลง และมนุษย์ จำแนกออกเป็น 2 ชนิดคือ1) การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน (Self Pollination) โดยละอองเรณูไปตกบนยอดเกสรตัวเมียภายในดอกเดียวกัน 2) การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก (Cross Pollinationโดยละอองเรณูจากดอกหนึ่งไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของอีกดอกหนึ่ง การงอกของละอองเรณู เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีสารละลายน้ำตาล จะทำให้ละอองเรณูงอกเป็นหลอดยาวแทงไปตามก้านเกสรตัวเมีย เพื่อเข้าไปผสมพันธุ์กับเซลล์ไขใน ออวุล โดยละอองเรณู 1 เซลล์ จะเข้าผสมกับ ออวุล 1 อัน ดังนั้น ดอก ซึ่งมี ออวุล หลายอัน ก็ต้องมี ละอองเรณูหลายเซลล์เข้ามาผสมด้วย2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction) พืช นอกจากจะขยายพันธุ์โดยอาศัยดอกแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยดอก โดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ไปปักชำ ทาบกิ่งตอน ต่อกิ่ง ติดตา เป็นต้นตัวอย่างการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ การแตกหน่อ (Budding ) เริ่มต้นจากนิวเคลียสของเซลล์แบ่งจนได้เซลล์ใหม่ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับเซลล์เดิม เซลล์เหล่านี้จะเจริญเป็นหน่อที่มีขนาดเล็กก่อนเมื่อหลุดออกมาจากตัวแม่ จะเจริญเป็นอิสระทำให้ขนาดและรูปร่างเหมือนกับตัวแม่ทุกประการการสร้างสปอร์ (Sporulation) พบในเห็ด รา สาหร่าย และพืชชั้นต่ำบางชนิด เช่น มอส เฟิร์น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ซึ่งทำได้โดยการตัดเอาตาอ่อน ยอดอ่อน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่เห็นว่าเป็นพันธุ์ดีและต้องการจะขยายพันธุ์ แล้วนำไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ เมื่อตาอ่อนหรือส่วนของพืชแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์ แล้วตัดแบ่งไปเจริญเป็นต้นใหม่ได้อีก นิยมทำฝนพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ มะพร้าว เป็นต้นที่มา http://weerasak.net/ch_3.html
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

1. การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกสิ่งเร้าภายนอกที่พืชได้รับจะไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตกระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของพืชในปริมารที่ไม่เท่ากัน มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ทำให้มองเห็นว่าพืชมีการเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 แบบ คือ การเคลื่อนไหวแบบนาสติกและการเคลื่อนไหวแบบทรอฟิก1.1 การเคลื่อนไหวแบบนาสติกการเคลื่อนไหวแบบนาสติก เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ไม่ว่าสิ่งเร้าที่มากระตุ้นในทิศใด ๆ พืชก็จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับการกระตุ้นนั้นเหมือนเดิม ได้แก่ การหุบและการบานของดอกไม้ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการได้รับหรือไม่ได้รับแสง โดยไม่สัมพันธ์กับทิศทางของแสง กล่าวคือไม่ว่าแสงจะมาในทิศทางใด การหุบและการบานของดอกไม้ก็ยัคงเหมือนเดิม เช่น ดอกบัวจะบานในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ส่วนดอกกระบองเพชรจะหุบในเวลากลางวันและจะบานในเวลากลางคืนนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายการหุบและการบานของดอกไม้ไว้ดังนี้· การหุบของดอกไม้ เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านใน· การบานของดอกไม้ เกิดจรากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านในของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกจากคำอธิบายข้างต้นนั้นจะมีแสงเป็นสิ่งเร้ามากระตุ้นให้กลุ่มเซลล์ด้านนอกและด้านในมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการหุบและการบานของดอกไม้ นอกจากแสงแล้วยังพบว่าการหุบและบานของดอกไม้สามารถถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าชนิดอื่น ๆ ได้แก่ อุณหภูมิ สารเคมี และการสัมผัส เช่น อุณหภูมิกระตุ้นการหุบและบานของดอกบัวสวรรค์ คือดอกบัวสวรรค์จะบานเมื่ออุณหภูมิสูงและจะหุบเมื่ออุณหภูมิต่ำลง1.2 การเคลื่อนไหวแบบทรอฟิกการเคลื่อนไหวแบบทรอฟิก เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นใน 2 ลักษณะ คือ การเคลื่อนไหวเข้าหาสิ่งเร้าและการเคลื่อนไหวหนีจากสิ่งเร้าการตอบสนองของพืชแต่ละชนิด แต่ละส่วนจะแตกต่างกันไป ถึงแม้จะมีสิ่งเร้าจากภายนอกที่มากระตุ้นเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม ดังตัวอย่างต่อไปนี้1) แสงเป็นสิ่งเร้า เช่น ยอดพืชจะเจริญเข้าหาแสง รากพืชจะเจริญในทิศทางหนีแสง2) แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น ลำต้นจะเจริญในทิศทางหนีแรงโน้มถ่วงของโลก การงอกของรากเกิดในทิศทางเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก3) สารเคมีเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกหลอดเรณูเข้าไปในออวุลเข้าหาสารละลายน้ำตาลที่อยู่ภายในออวุล4) น้ำเป็นสิ่งเร้า เช่น รากของพืชจะเจริญในทิศทางเข้าหาน้ำหรือความชื้นสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะแสดงพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งแวดล้อมได้เสมอ พฤติกรรมบางอย่างก็สังเกตได้ง่าย บางชนิดก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่บางชนิดก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่บางชนิดก็ตอบสนองช้าแตกต่างกันไป โดยกลไกการเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตจะสลับซับซ้อนเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกและระบบประสาท พฤติกรรมของพืชเป็นพฤติกรรมที่สามารถสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เพราะพืชยังไม่มีระบบประสาท พืชชนิดเดียวกันจึงมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน จากการศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆทำให้เราเข้าใจถึงเหตุผลและกลไกการเกิดพฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกระบบประสาทส่วนกลาง หรือศูนย์รวบรวมข้อมูลและออกคำสั่งและหน่วยปฏิบัติงานหรือหน่วยสนองความรู้สึกของสัตว์ชนิดต่างๆ สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบประสาท หรือระบบประสาทยังไม่เจริญดี ก็จะมีหน่วยรับความรู้สึก หรือใยประสาทซึ่งไวต่อสิ่งเร้าหลายชนิดเป็นตัวควบคุมการเกิดพฤติกรรม พฤติกรรมแบบต่างๆของสัตว์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ต้องผ่านการเรียนรู้มาก่อน จึงมีแบบแผนเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดออกเป็นแบบตางๆ ดังนี้ 1.1 พฤติกรรมแบบไคนีซิส เป็นพฤติกรรมที่เข้าหา หรือเคลื่อนหนีต่อสิ่งเร้า มีทิศทางไม่แน่นอน 1.2 พฤติกรรมแบบแทกซิส เป็นพฤติกรรมทีที่เข้าหา หรือเคลื่อนหนีต่อสิ่งเร้า มีทิศทางแน่นอน เช่นการเคลื่อนที่เข้าหาแสง 1.3 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อมีผงเข้าตาก็จะกระพริบตา 1.4 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากพฤติกรรมย่อยหลายๆพฤติกรรม ซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ที่ไปกระตุ้นปฏิกิริยาอื่น ของระบบประสาทให้ทำงาน เช่นการดูดนมของลูกอ่อน จะมีสิ่งเร้าคือ ความหิว2.พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลัง สัตว์แต่ละชนิดมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่ สัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดีจะเรียนรู้ได้ดีพฤติกรรมบางอย่าง สัตว์จะต้องมีประสบการณ์จึงแสดงพฤติกรรมออกมา ตัวออย่างเช่น เมื่อนำแมลงปอมาแขวนไว้ด้านหน้าของคางคก คางคกจะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมาผู้ทดลองได้นำแมลงชนิดหนึ่งเรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนแทนคางคกก็กิน แต่ถูกผึ้งต่อย ต่อมาผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนปรากฎว่าคางคกไม่กินแมลลงรอบเบอร์และผึ้งอีกเลย2.1 ความเคยชิน เป็นการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนในที่สุดไม่ตอบสนองเลยแม้จะได้รับการกระตุ้นอยู่เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นๆไม่มีผลต่อตัวเอง เช่น นกทำรังข้างถนน เมื่อได้ยินเสียงรถก็จะบินหนี แต่พอนานวันเข้าก็จะรู้ว่าเสียงรถไม่ได้มีผลต่อตนเอง จึงเกิดความเคยชินและหายกลัวไปในที่สุด 2.2 การลองผิดลองถูก เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการทดลองทำ โดยไม่รู้ว่าผลของพฤติกรรมนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าผลของการทดลองนั้นถูกต้องเป็นที่พอใจหรือได้รับรางวัล มันก็จะกระทำสิ่งเดิมนั้นอีก แต่ถ้าผลการทดลองไม่ถูกต้องหรือเป็นที่พอใจ หรือได้รับโทษมันก็จะไม่กระทำสิ่งนั้นอีก2.3 การใช้เหตุผล เป็นพฤติกรรมที่ดัดแปลงมากจากพฤติกรรมการลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ค่อยๆเกิดขึ้นในสัตว์ แต่การใช้เหตุผลเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นความสามารถของสัตว์ที่ตอบสนองอย่างถูกต้องได้ในครั้งแรกต่อสถานการณ์ที่ต่างออกไปจากประสบการณ์เก่าที่เคยประสบมา สัตว์สามารถนำการเรียนรู้เก่าที่ได้จากสถานการณ์แบบอื่นมาใช้ในการแก้ปัญหาใหม่ที่เผชิญได้เช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรืออยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไปไม่ถึง ชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาโดยนำลังไม้มาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วยพฤติกรรมของพืช เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเพราะพืชยังไม่มีระบบประสาทสำหรับการรับรู้ พืชสามารถตอบสนองต่อการเปลียนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เนื่องจากถูกกำหนดด้วยหน่วยทางพันธุกรรมให้มีแบบแผนที่คงที่แน่นอน ไม่สามารถดัดแปลงหรือปรับปรุงให้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น พฤติกรรมของพืชมีแบบแผนง่ายๆ ส่วนใหญ่แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องมาจากการเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ พฤติกรรมของพืชส่วนมากมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชต่างชนิดกัน ตัวอย่างพฤติกรรมได้แก่1. พฤติกรรมต่อแสงการเอนเข้าหาหรือหนีออกตามทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นภายนอก เช่น ปลายยอดของพืชส่วนใหญ่จะเอนเข้าหาแสง นอกจากแสงสว่างแล้ว สิ่งเร้าประเภทอื่นก็อาจจะมีผลทำให้ส่วนต่างๆของพืชแสดงพฤติกรรมแบบโพรโทพลาสซึมได้ เช่น การเจริญของลำต้นหนีแรงดึงดูดของโลก การเจริญเข้าหาแรงดึงดูดของโลก2. พฤติกรรมต่อการสัมผัสเป็นพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นด้วยการสัมผัส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ เช่น การหุบของไมยราบ การหุบใบจับแมลงของต้นกาบหอยแครง การเปิดของปากใบ3. พฤติกรรมต่อน้ำและอุณหภูมิการตอบสนองต่อภาวะอากาศแห้งแล้งของพืชด้วยการหลุดร่วงของใบในฤดูหนาวเพื่อลดการคายน้ำ นอกจากนี้แสงยังเป็นตัวกระตุ้นให้การออกดอกและผลของพืชตามฤดูกาลที่มีระยะเวลากลางวันและกลางคืนยาวไม่เท่ากัน
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร.และรอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้
ประกาศรับสมัคร+รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ที่มาhttp://www.kroobannok.com/15842
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
บทความที่เก่ากว่า
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)



วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสอพิมพ์เดลินิวส์
หนังสือพืมพ์ผู้จัดการ
หนังสือพิมพ์ข่าวสด
หนังสือพิมพ์มติชน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
หนังสือพิมพ์แนวหน้า
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
โต๊ะข่าวภาคใต้สถาบันอิสรา
หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์
เดอะเนชั่น
ไทยโพสต์
กรุงเทพธุรกิจ
สยามกีฬา
กองฉลาก
กรมอุตุนิยมวิทยา
ทีวีช่อง3 ผังรายการ
TPBS ผังรายการ
ทีวีช่อง5 ผังรายการ
ทีวีช่อง7 ผังรายการ
ทีวีช่อง9 ผังรายการ
ทีวีช่อง11 ผังรายการ
ที่มา
วิธีดูแลรักษา แปรงสีฟัน
- อย่าใช้แปรงสีฟันร่วมกัน เพราะการใช้แปรงร่วมกัน โอกาสสัมผัสกับน้ำลาย เลือด ของอีกคนได้ง่ายมาก ๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยตรง

- ล้างขนแปรงด้วยน้ำก๊อก หลังจากแปรงฟันเสร็จ เพื่อเอายาสีฟันที่ค้างและสิ่งสกปรกออก แล้ววางให้ตั้งตรง ให้ขนแปรงถูกอากาศพัดให้แห้ง หากมีแปรงหลายอัน ก็อย่าให้ขนแปรงมาชนกันหรือสัมผัสกันเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

- อย่าเก็บแปรงในกล่องปิด เพราะแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น ๆ แต่ถ้าขนแปรงถูกอากาศ ก็จะไม่เปียก แบคทีเรียไม่ชอบ

- ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-4 เดือน อย่าใช้แปรงจนขนแปรงบาน เพราะประสิทธิภาพในการขจัดเอาเศษอาหารจะลดลง แถมยังอาจทำร้ายเหงือกอีกด้วย

รู้อย่างนี้แล้วก็เก็บรักษาแปรงสีฟันให้ดี ๆ เพื่อห่างไกลจากแบคทีเรีย
ที่มา