วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่ของการผ่านเซลล์



ในพืชเราเรียกการหายใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซ ราก ลำต้น และใบ มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซด้วยตัวเอง(รากและลำต้นมีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มากนัก) ในขณะที่พืชสังเคราะห์ด้วยแสง ที่ใบจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น โดยเฉพาะใบที่มีสีเขียวมากสุด ผิวนอกสุดด้านบนของใบจะมีสารเคลือบผิวที่เรียกว่า คิวทิเคิล (Waxy Cuticle) เคลือบไว้ มีลักษณะเป็นมัน แห้ง เรียบ ป้องกันการระเหยของน้ำ รากจะรับเอาออกซิเจนจากอากาศผ่านเข้าไปตามช่องว่างระหว่างอนุภาคของดิน ผ่านเข้าสู่ขนราก ออกซิเจนผ่านเข้าสู่ไซโทพลาสซึมของขนรากแล้วแพร่กระจายไปยังเซลล์ข้างเคียงต่อไป คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์จะแพร่ออกในทิศทางตรงข้ามกับออกซิเจน 3. ระบบสืบพันธุ์การสืบพันธุ์(Reproduction) เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตในการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไว้ ประเภทของการสืบพันธุ์การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) หมายถึง การสืบพันธุ์ที่ต้องมีการผสม ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ คือ ดอกดอก คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่เจริญและเปลี่ยนแปลงมาจากกิ่ง เพื่อการสืบพันธุ์ ดอกมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นชั้นนอกสุดของดอก มักมีขนาดเล็กและมีสีเขียว มีหน้าที่ป้องกันดอกอ่อนที่ตูม 2) กลีบดอก (Petal) เป็นชั้นที่สวยงาม มักมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยในการผสมเกสร 3) เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ก้านเกสรตัวผู้และอับเรณู ภายในอับเรณู จะมีละอองเรณูซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ 4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นชั้นในสุดของดอก ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมียอยู่ส่วนบนสุด ส่วนล่างที่พองเป็นกระเปาะ เรียกว่า รังไข่(Ovary) ตั้งอยู่บนฐานรองดอก ภายในรังไข่มี ออวุล (Ovule) ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ภายใน ออวุล จะสามารถแบ่งตัวเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ต่อไปประเภทของดอก ดอกไม้แม้จะมีรูปร่างแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน ถ้านำส่วนประกอบของดอกไม้มาแบ่งตามเกณฑ์ โดยใช้เกณฑ์ใหญ่ๆ 2 เกณฑ์ ได้แก่ใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งดอกออกเป็น 2 ชนิด 1) ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ข้าว มะม่วง กุหลาบ ชบา ต้อยติ่ง มะเขือ พริก บัว ผักบุ้ง และมะลิ เป็นต้น 2) ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect Flower) หมายถึง ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ข้าวโพด ตำลึง ฟักทอง มะละกอ เงาะ และมะยม เป็นต้นการใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ แบ่งดอกออกเป็น 2 ชนิด 1) ดอกครบส่วน (Complete Flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ชั้น คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เช่น กุหลาบ ผักบุ้ง ชบา มะลิ และ แค เป็นต้น 2) ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete Flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ ทั้ง 4 ชั้น เช่น ข้าวโพด กล้วยไม้ เฟื่องฟ้า บานเย็น มะละกอ ตำลึง ฟักทอง แตงกวา บวบ และข้าว เป็นต้นสรุปได้ว่า ดอกครบส่วนคือดอกสมบูรณ์เพศ ดอกไม่ครบส่วนจะเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศเสมอ การถ่ายละอองเรณู (Pollination) หมายถึง การที่ละอองเรณูที่แก่จัดแล้วปริแตกออกจากอับละอองเรณู ปลิวไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย การถ่ายละอองเรณูถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสืบพันธุ์ของพืช การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยอาศัย ลม น้ำ และสัตว์ เช่น นก แมลง และมนุษย์ จำแนกออกเป็น 2 ชนิดคือ1) การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน (Self Pollination) โดยละอองเรณูไปตกบนยอดเกสรตัวเมียภายในดอกเดียวกัน 2) การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก (Cross Pollinationโดยละอองเรณูจากดอกหนึ่งไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของอีกดอกหนึ่ง การงอกของละอองเรณู เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีสารละลายน้ำตาล จะทำให้ละอองเรณูงอกเป็นหลอดยาวแทงไปตามก้านเกสรตัวเมีย เพื่อเข้าไปผสมพันธุ์กับเซลล์ไขใน ออวุล โดยละอองเรณู 1 เซลล์ จะเข้าผสมกับ ออวุล 1 อัน ดังนั้น ดอก ซึ่งมี ออวุล หลายอัน ก็ต้องมี ละอองเรณูหลายเซลล์เข้ามาผสมด้วย2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction) พืช นอกจากจะขยายพันธุ์โดยอาศัยดอกแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยดอก โดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ไปปักชำ ทาบกิ่งตอน ต่อกิ่ง ติดตา เป็นต้นตัวอย่างการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ การแตกหน่อ (Budding ) เริ่มต้นจากนิวเคลียสของเซลล์แบ่งจนได้เซลล์ใหม่ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับเซลล์เดิม เซลล์เหล่านี้จะเจริญเป็นหน่อที่มีขนาดเล็กก่อนเมื่อหลุดออกมาจากตัวแม่ จะเจริญเป็นอิสระทำให้ขนาดและรูปร่างเหมือนกับตัวแม่ทุกประการการสร้างสปอร์ (Sporulation) พบในเห็ด รา สาหร่าย และพืชชั้นต่ำบางชนิด เช่น มอส เฟิร์น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ซึ่งทำได้โดยการตัดเอาตาอ่อน ยอดอ่อน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่เห็นว่าเป็นพันธุ์ดีและต้องการจะขยายพันธุ์ แล้วนำไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ เมื่อตาอ่อนหรือส่วนของพืชแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์ แล้วตัดแบ่งไปเจริญเป็นต้นใหม่ได้อีก นิยมทำฝนพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ มะพร้าว เป็นต้นที่มา http://weerasak.net/ch_3.html
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

1. การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกสิ่งเร้าภายนอกที่พืชได้รับจะไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตกระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของพืชในปริมารที่ไม่เท่ากัน มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ทำให้มองเห็นว่าพืชมีการเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 แบบ คือ การเคลื่อนไหวแบบนาสติกและการเคลื่อนไหวแบบทรอฟิก1.1 การเคลื่อนไหวแบบนาสติกการเคลื่อนไหวแบบนาสติก เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ไม่ว่าสิ่งเร้าที่มากระตุ้นในทิศใด ๆ พืชก็จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับการกระตุ้นนั้นเหมือนเดิม ได้แก่ การหุบและการบานของดอกไม้ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการได้รับหรือไม่ได้รับแสง โดยไม่สัมพันธ์กับทิศทางของแสง กล่าวคือไม่ว่าแสงจะมาในทิศทางใด การหุบและการบานของดอกไม้ก็ยัคงเหมือนเดิม เช่น ดอกบัวจะบานในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ส่วนดอกกระบองเพชรจะหุบในเวลากลางวันและจะบานในเวลากลางคืนนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายการหุบและการบานของดอกไม้ไว้ดังนี้· การหุบของดอกไม้ เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านใน· การบานของดอกไม้ เกิดจรากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านในของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกจากคำอธิบายข้างต้นนั้นจะมีแสงเป็นสิ่งเร้ามากระตุ้นให้กลุ่มเซลล์ด้านนอกและด้านในมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการหุบและการบานของดอกไม้ นอกจากแสงแล้วยังพบว่าการหุบและบานของดอกไม้สามารถถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าชนิดอื่น ๆ ได้แก่ อุณหภูมิ สารเคมี และการสัมผัส เช่น อุณหภูมิกระตุ้นการหุบและบานของดอกบัวสวรรค์ คือดอกบัวสวรรค์จะบานเมื่ออุณหภูมิสูงและจะหุบเมื่ออุณหภูมิต่ำลง1.2 การเคลื่อนไหวแบบทรอฟิกการเคลื่อนไหวแบบทรอฟิก เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นใน 2 ลักษณะ คือ การเคลื่อนไหวเข้าหาสิ่งเร้าและการเคลื่อนไหวหนีจากสิ่งเร้าการตอบสนองของพืชแต่ละชนิด แต่ละส่วนจะแตกต่างกันไป ถึงแม้จะมีสิ่งเร้าจากภายนอกที่มากระตุ้นเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม ดังตัวอย่างต่อไปนี้1) แสงเป็นสิ่งเร้า เช่น ยอดพืชจะเจริญเข้าหาแสง รากพืชจะเจริญในทิศทางหนีแสง2) แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น ลำต้นจะเจริญในทิศทางหนีแรงโน้มถ่วงของโลก การงอกของรากเกิดในทิศทางเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก3) สารเคมีเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกหลอดเรณูเข้าไปในออวุลเข้าหาสารละลายน้ำตาลที่อยู่ภายในออวุล4) น้ำเป็นสิ่งเร้า เช่น รากของพืชจะเจริญในทิศทางเข้าหาน้ำหรือความชื้นสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะแสดงพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งแวดล้อมได้เสมอ พฤติกรรมบางอย่างก็สังเกตได้ง่าย บางชนิดก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่บางชนิดก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่บางชนิดก็ตอบสนองช้าแตกต่างกันไป โดยกลไกการเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตจะสลับซับซ้อนเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกและระบบประสาท พฤติกรรมของพืชเป็นพฤติกรรมที่สามารถสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เพราะพืชยังไม่มีระบบประสาท พืชชนิดเดียวกันจึงมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน จากการศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆทำให้เราเข้าใจถึงเหตุผลและกลไกการเกิดพฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกระบบประสาทส่วนกลาง หรือศูนย์รวบรวมข้อมูลและออกคำสั่งและหน่วยปฏิบัติงานหรือหน่วยสนองความรู้สึกของสัตว์ชนิดต่างๆ สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบประสาท หรือระบบประสาทยังไม่เจริญดี ก็จะมีหน่วยรับความรู้สึก หรือใยประสาทซึ่งไวต่อสิ่งเร้าหลายชนิดเป็นตัวควบคุมการเกิดพฤติกรรม พฤติกรรมแบบต่างๆของสัตว์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ต้องผ่านการเรียนรู้มาก่อน จึงมีแบบแผนเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดออกเป็นแบบตางๆ ดังนี้ 1.1 พฤติกรรมแบบไคนีซิส เป็นพฤติกรรมที่เข้าหา หรือเคลื่อนหนีต่อสิ่งเร้า มีทิศทางไม่แน่นอน 1.2 พฤติกรรมแบบแทกซิส เป็นพฤติกรรมทีที่เข้าหา หรือเคลื่อนหนีต่อสิ่งเร้า มีทิศทางแน่นอน เช่นการเคลื่อนที่เข้าหาแสง 1.3 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อมีผงเข้าตาก็จะกระพริบตา 1.4 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากพฤติกรรมย่อยหลายๆพฤติกรรม ซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ที่ไปกระตุ้นปฏิกิริยาอื่น ของระบบประสาทให้ทำงาน เช่นการดูดนมของลูกอ่อน จะมีสิ่งเร้าคือ ความหิว2.พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลัง สัตว์แต่ละชนิดมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่ สัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดีจะเรียนรู้ได้ดีพฤติกรรมบางอย่าง สัตว์จะต้องมีประสบการณ์จึงแสดงพฤติกรรมออกมา ตัวออย่างเช่น เมื่อนำแมลงปอมาแขวนไว้ด้านหน้าของคางคก คางคกจะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมาผู้ทดลองได้นำแมลงชนิดหนึ่งเรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนแทนคางคกก็กิน แต่ถูกผึ้งต่อย ต่อมาผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนปรากฎว่าคางคกไม่กินแมลลงรอบเบอร์และผึ้งอีกเลย2.1 ความเคยชิน เป็นการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนในที่สุดไม่ตอบสนองเลยแม้จะได้รับการกระตุ้นอยู่เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นๆไม่มีผลต่อตัวเอง เช่น นกทำรังข้างถนน เมื่อได้ยินเสียงรถก็จะบินหนี แต่พอนานวันเข้าก็จะรู้ว่าเสียงรถไม่ได้มีผลต่อตนเอง จึงเกิดความเคยชินและหายกลัวไปในที่สุด 2.2 การลองผิดลองถูก เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการทดลองทำ โดยไม่รู้ว่าผลของพฤติกรรมนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าผลของการทดลองนั้นถูกต้องเป็นที่พอใจหรือได้รับรางวัล มันก็จะกระทำสิ่งเดิมนั้นอีก แต่ถ้าผลการทดลองไม่ถูกต้องหรือเป็นที่พอใจ หรือได้รับโทษมันก็จะไม่กระทำสิ่งนั้นอีก2.3 การใช้เหตุผล เป็นพฤติกรรมที่ดัดแปลงมากจากพฤติกรรมการลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ค่อยๆเกิดขึ้นในสัตว์ แต่การใช้เหตุผลเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นความสามารถของสัตว์ที่ตอบสนองอย่างถูกต้องได้ในครั้งแรกต่อสถานการณ์ที่ต่างออกไปจากประสบการณ์เก่าที่เคยประสบมา สัตว์สามารถนำการเรียนรู้เก่าที่ได้จากสถานการณ์แบบอื่นมาใช้ในการแก้ปัญหาใหม่ที่เผชิญได้เช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรืออยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไปไม่ถึง ชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาโดยนำลังไม้มาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วยพฤติกรรมของพืช เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเพราะพืชยังไม่มีระบบประสาทสำหรับการรับรู้ พืชสามารถตอบสนองต่อการเปลียนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เนื่องจากถูกกำหนดด้วยหน่วยทางพันธุกรรมให้มีแบบแผนที่คงที่แน่นอน ไม่สามารถดัดแปลงหรือปรับปรุงให้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น พฤติกรรมของพืชมีแบบแผนง่ายๆ ส่วนใหญ่แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องมาจากการเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ พฤติกรรมของพืชส่วนมากมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชต่างชนิดกัน ตัวอย่างพฤติกรรมได้แก่1. พฤติกรรมต่อแสงการเอนเข้าหาหรือหนีออกตามทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นภายนอก เช่น ปลายยอดของพืชส่วนใหญ่จะเอนเข้าหาแสง นอกจากแสงสว่างแล้ว สิ่งเร้าประเภทอื่นก็อาจจะมีผลทำให้ส่วนต่างๆของพืชแสดงพฤติกรรมแบบโพรโทพลาสซึมได้ เช่น การเจริญของลำต้นหนีแรงดึงดูดของโลก การเจริญเข้าหาแรงดึงดูดของโลก2. พฤติกรรมต่อการสัมผัสเป็นพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นด้วยการสัมผัส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ เช่น การหุบของไมยราบ การหุบใบจับแมลงของต้นกาบหอยแครง การเปิดของปากใบ3. พฤติกรรมต่อน้ำและอุณหภูมิการตอบสนองต่อภาวะอากาศแห้งแล้งของพืชด้วยการหลุดร่วงของใบในฤดูหนาวเพื่อลดการคายน้ำ นอกจากนี้แสงยังเป็นตัวกระตุ้นให้การออกดอกและผลของพืชตามฤดูกาลที่มีระยะเวลากลางวันและกลางคืนยาวไม่เท่ากัน
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร.และรอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้
ประกาศรับสมัคร+รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ที่มาhttp://www.kroobannok.com/15842
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
บทความที่เก่ากว่า
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น