วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552







โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุโครงสร้างอะตอมโครงสร้างอะตอมอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบกลุ่มหมอก ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก 3 ชนิดได้แก่ นิวตรอน (Neutron) โปรตอน (Proton) และอิเล็กตรอน (Electron)มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางซึ่งภายในประกอบด้วยอนุภาคของนิวตรอนและโปรตอนอยู่ อาจเรียกว่านิวคลิออน (Nucleon) มีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียส ซึ่งไม่สามารถกำหนดความเร็ว ทิศทางและตำแหน่งที่แน่นอนได้ จึงทำให้โอกาส ที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณหนึ่งๆไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่สามารถพบอิเล็กตรอนได้ถูกเรียกว่า ออร์บิทัล (Orbital)บริเวณที่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่หนาแน่นที่สุด ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 1 และเมื่อห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ความหนาแน่นของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนจะน้อยลง ค่าของระดับพลังงานของอิเล็กตรอนจะถูกกำหนดให้แทนด้วย n = 2 n = 3 n = 4 ตามลำดับ









ตารางแสดงมวลและประจุของอนุภาคมูลฐานในอะตอมการจัดเรียงอิเล็กตรอนการจัดแบ่งอิเล็กตรอนที่โคจรในอะตอมจะแบ่งตามกลุ่มของระดับพลังงาน (n) โดยจำนวนอิเล็กตรอนที่มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงานมีค่าไม่เกิน 2n2n = 1 จำนวน 2 อิเล็กตรอนn = 2 จำนวน 8 อิเล็กตรอนn = 3 จำนวน 18 อิเล็กตรอนn = 4 จำนวน 32 อิเล็กตรอนจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุด (Valence Electron) จะมีได้มากที่สุดไม่เกิน8 อิเล็กตรอนเลขอะตอม (Atomic Number : Z) คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของแต่ละอะตอมของธาตุ ซึ่งปกติอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวน ประจุบวกเท่ากับประจุลบเสมอ จึงทำให้จำนวนโปรตอนกับจำนวนอิเล็กตรอนของธาตุมีค่าเท่ากัน-เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน-เลขมวล (Mass Number : A) คือ ผลรวมของจำนวนนิวตรอนกับจำนวนโปรตอนที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม ยกเว้นอะตอมของไฮโดรเจน ซึ่งมี จำนวนโปรตอน 1 ตัว ไม่มีนิวตรอนเลขมวล = จำนวนโปรตอน + จำนวนนิวตรอน= เลขอะตอม + จำนวนนิวตรอนตารางธาตุ

















ตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยประวัติศาสตร์ของตารางธาตุเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาแหล่งอ้างอิง : http://edu.e-tech.ac.th/somchai/unt7/un7.htmlhttp://th.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุhttp://student.mahidol.ac.th/~u4903088/Chem-neon/Periodic_Table.jpg2.พันธะเคมีพันธะโควาเลนต์ (อังกฤษ:Covalent bond) คือพันธะเคมี (chemical bond) ภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง พันธะโควาเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโควาเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดของตัวเองให้เต็ม ดังนั้นอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโควาเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆ กับพันธะไอออนิก พันธะโควาเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโควาเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโควาเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโควาเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้พันธะเคมี แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (share) ของอะตอมธาตุอโลหะ เพื่อทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด หรือเหมือนแก๊สเฉื่อยอะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจนถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่ เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจนถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจนพันธะไอออนิก (Ionic bond) คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation) และไอออนลบ (anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะโดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity) สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน เช่น เมื่อโลหะเสียอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนบวกพันธะโลหะ (Metallic bond) หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของโลหะ อยู่ด้วยกันในก้อนของโลหะ โดยมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ โดยที่เวเลนต์อิเล็กตรอนนี้ไม่ได้เป็นของอะตอมหนึ่งอะตอมใดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทุกๆอะตอมของโลหะจะอยู่ติดกันกับอะตอมอื่นๆ ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้โลหะไม่มีสูตรโมเลกุล ที่เขียนกันเป็นสูตรอย่างง่าย หรือสัญลักษณ์ของธาตุนั้นเองแหล่งอ้างอิง http://learners.in.th/file/dawood/chemical-bond.doc3.ปฏิกิริยาเคมีคือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอนในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี



















ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า เด็กชายจิรวัฒน์ บุรี และคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

รวม web กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
รวม web กลุ่มสาระ กอท.
รวม web กลุ่มสาระศิลปะ
รวม web กลุุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
รวม web กลุ่มสาระสังคมฯ ศาสนา
รวมweb กลุ่มสาระคณิตศาตร์
รวมweb กลุ่มสาระภาษาไทย
รวมweb กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สาระน่ารู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์เนื้อหาสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ภาษาต่างประเทศสาระน่ารู้ เนื้อหากลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกลุ่มสาระวิชาภาษาไทย
สุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ศิลปศึกษาและดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษาและดนตรี
การงานอาชีพและเทคโนโลยีกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ความรู้
Backward Design
skooolthai
กรมอุตุนิยมวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ข่าวสด
ครูจูดี้ โรงเรียนสุพีเรีย รัฐวิคอนซิน สหรัฐอเมริกา
ครูฉลิต ฉายกี่ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูบ้านนอก
ครูประนอม ฉายกี่
ครูราตรี โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวันเพ็ญ โรงเรียนเมืองเชลียง
ครูวีระศักดิ์
ครูไทย
ครูไทยแลนด์ดอทเน็ต
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
จิระวัฒน์ บุรี 1/3
ผอ.คณิตพันธ์
ผอ.เฟรด สหรัฐอเมริกา
พระอภัยมณี
พันธะเคมี
ฟิสิกส์นิวเคลียร์
มติชน
ระบบประสาท
ศูนย์...ไม่ศุนย์
สอบครูดอทเน็ต
สังข์ทอง
ห้อง 4/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
ห้อง 6/2 โรงเรียนเมืองเชลียง
อ.จิระ งอกศิลป์
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
เดลี่นิวส์
โลกและดาราศาสตร์
ไทยรัฐ

คลังบทความของบล็อก
2009 (78)
มิถุนายน (10)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช
การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช ในดินมีน้ำอยู่บ...
ราก
การอบรม ICT ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา รร.สุโขท...
ไหว้ครู2552
การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์เยื่อผ่าน คือ การลำเล...
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เซลลà¹...
ออร์แกเนลล์ ที่มา http://images.google.co.th/img...
เซลล์พืช
พฤษภาคม (17)
ประวัติการค้นคว้าเรื่องเซลล์
เซลล์
ที่มา http://weerasak.net/image/JJ.gif การใ...
ที่มาhttp://techno.obec.go.th/content/PhysicNucle...
พระอภัยมณี
ที่มาhttp://jove.prohosting.com/namtarn/
lesa project
นักวิทยาศาสตร์ของโลก
ที่มา http://www.tmd.go.th/index.php
แนะนำ น่าอ่าน
ที่มา http://www3.ipst.ac.th/physics/index.php?o...
คู่มือการวัดผลวิทยาศาสตร์ วัดผลและประเมินผลวิทยาศา...
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (แบบ 5 E) กระบวนการสืบเส...
ลักษณะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะว...
ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ ...
จะเกิดวิกฤติโลกปี ค.ศ. 2030ผู้นำสูงสุดทางวิทยาศาสต...
อเมริกันตกงานหันไปเรียนออนไลน์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ...
เมษายน (9)
เยียวยา คศ.3 ทุกระดับ
มาเตรียมตัวก่อนเยียวยากันเถอะ(ตอนที่ 2 ตามหลักสูตร...
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาท...
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
วันที่ วิชา ค่าอบรม (บาท) 25 เม.ย 2552 _ การจัดดอก...
บีบีซีชี้ชัดเสื้อแดงก่อจลาจลไม่ใช่ประชาธิปไตย
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค 7 เม.ย.2552
เปิดเคล็ดลับ รับหน้าร้อน
ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์
มีนาคม (4)
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-...
ไฮโดรโปนิกส์
ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม
แลกเปลี่ยนครูไทย-อเมริกา
กุมภาพันธ์ (10)
มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำต...
พายุที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับขนา...
ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,580...
ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,580...
แนวปะทะอากาศเมื่อมวลอากาศ 2 มวลเคลื่อนตัวมาพบกันเข...
การพยากรณ์อากาศ คือ การคาดหมายสภาวะอากาศและปรากฏกา...
การพยากรณ์อากาศ คือ การคาดหมายสภาวะอากาศและปรากฏกา...
อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และที่หุ้มห่อโลกจากตั้งแ...
พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย (Tropical cyclone in Th...
มกราคม (28)
2008 (25)
ธันวาคม (13)
พฤศจิกายน (12)

คลังบทความของบล็อก
2009 (90)
กรกฎาคม (12)
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระ...
ในพืชเราเรียกการหายใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซ ราก ลำต้...
1. การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้...
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร. สมัคร...
สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นปรากฏ...
สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม 2552 วรเชษฐ์ บุญปลอด เช้าว...
การถ่ายละอองเกสร การถ่ายละอองเกสร คือ วิธีการที่...
ดอกไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญของพืช
ส่วนประกอบของดอกไม้ ในดอกครบส่วน (completed flo...
การสืบพันธุ์ คือ กระบวนการของสิ่งมีชีวิตในการสร้า...
วันเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11...
วันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘
มิถุนายน (10)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช
การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช ในดินมีน้ำอยู่บ...
ราก
การอบรม ICT ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา รร.สุโขท...
ไหว้ครู2552
การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์เยื่อผ่าน คือ การลำเล...
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เซลลà¹...
ออร์แกเนลล์ ที่มา http://images.google.co.th/img...
เซลล์พืช
พฤษภาคม (17)
ประวัติการค้นคว้าเรื่องเซลล์
เซลล์
ที่มา http://weerasak.net/image/JJ.gif การใ...
ที่มาhttp://techno.obec.go.th/content/PhysicNucle...
พระอภัยมณี
ที่มาhttp://jove.prohosting.com/namtarn/
lesa project
นักวิทยาศาสตร์ของโลก
ที่มา http://www.tmd.go.th/index.php
แนะนำ น่าอ่าน
ที่มา http://www3.ipst.ac.th/physics/index.php?o...
คู่มือการวัดผลวิทยาศาสตร์ วัดผลและประเมินผลวิทยาศา...
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (แบบ 5 E) กระบวนการสืบเส...
ลักษณะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะว...
ประกาศเตือนภัย "ฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย" ฉบับที่ ...
จะเกิดวิกฤติโลกปี ค.ศ. 2030ผู้นำสูงสุดทางวิทยาศาสต...
อเมริกันตกงานหันไปเรียนออนไลน์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ...
เมษายน (9)
เยียวยา คศ.3 ทุกระดับ
มาเตรียมตัวก่อนเยียวยากันเถอะ(ตอนที่ 2 ตามหลักสูตร...
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาท...
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
วันที่ วิชา ค่าอบรม (บาท) 25 เม.ย 2552 _ การจัดดอก...
บีบีซีชี้ชัดเสื้อแดงก่อจลาจลไม่ใช่ประชาธิปไตย
ประเพณีแห่ช้างบวชนาค 7 เม.ย.2552
เปิดเคล็ดลับ รับหน้าร้อน
ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์
มีนาคม (4)
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-...
ไฮโดรโปนิกส์
กุมภาพันธ์ (10)
มกราคม (28)
2008 (25)
ธันวาคม (13)
พฤศจิกายน (12)
ghaph
captivat
http://www.ipst.ac.th/science/

ภาพถ่ายดาวเทียม : พยากรณ์อากาศ
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น
หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น -1
ถ่ายภาพสินค้าแบบง่ายสไตล์ดิจิตัล
ไกด์ไลน์สำหรับการวางตำแหน่งในการถ่ายภาพ
ทดสอบการวางตำแหน่งภาพให้เป็นไปตามกฏ
ตัวอย่างภาพของกฏ Rule of Thirds
เรียนรู้การปรับกล้องก่อนใช้งานด้วยภาพจริง
ตำราการถ่ายภาพเบื้องต้น
อยากถ่ายรูปให้สวย+เข้าใจวิธีการถ่ายภาพให้ได้ดี มาอ่านที่นี่ครับ
พยากรณ์อากาศประเทศไทย
เทคนิคการถ่ายภาพ
ทดสอบเลนส์ CANON (EF-S 18-55 IS)
(บันทึก) การขี่จักรยานมาทำงานของ-เสือพุงขาว
BlogGang.com
ที่มาhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chs&month=18-12-2008&group=31&gblog=14

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เคมีบ้านครูยุธ
ฟิสิกส์ราชมงคล
ประวัตินักวิทยาศาสตร์
เคมีบ้านครูยุธ


การเตรียมตัวเพื่อทำผลงานทางวิชาการทุกท่านที่จะทำผลงานทางวิชาการต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้ครับ....
คู่มือการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระจะเตรียมตัวทำผลงาน ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ครับ....1. ตัวอย่างการวิเตราะห์หลักสูตรก่อนเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างงานที่ผ่านการตรวจ2. ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้3. ตัวอย่าง บันทึกผลหลังสอน3.1 ตัวอย่างแผน STAD 3.2 ตัวอย่างแผน CIPPA 3.3 ตัวอย่างแผน Backwards++จะค่อยนำขึ้นเรื่อยๆครับ++4. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงานบทที 15. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 26. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 37. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 48. วิธีเขียน /ตัวอย่างรายงาน บทที่ 59. ตัวอย่าง การเขียนบทคัดย่อ10.ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม10.1 การจัดเรียงภาคผนวก 10.2 แบบประเมินของผู้เชี่ยวฃาญ11. ตัวอย่าง การเขียน วฐ.2/112. ตัวอย่างนวัตกรรม12.1 ตัวอย่าง บทเรียนสำเร็จรูป
12.2 ตัวอย่าง วีดิทัศน์12.3 ตัวอย่าง เอกสารประกอบ13. การหาค่าของคะแนนแบบง่าย14. ตัวอย่างคู่มือการใช้เแบบฝึกฯ15. การใช้ Font สำหรับนวัตกรรม.


เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย(ซาวด์)
เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงสรรเสริญพระบารมี(ซาวด์)
เพลงสดุดีมหาราชาเพลงสดุดีมหาราชา(ซาวด์)
เพลงภูมิพลังแผ่นดินเพลงภูมิพลังแผ่นดิน(ซาวด์)
เพลงมหาฤกษ์(ยาว)
เพลงมหาฤกษ์(สั้น)
เพลงมหาชัยกราวกีฬา

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่ของการผ่านเซลล์



ในพืชเราเรียกการหายใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซ ราก ลำต้น และใบ มีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซด้วยตัวเอง(รากและลำต้นมีการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มากนัก) ในขณะที่พืชสังเคราะห์ด้วยแสง ที่ใบจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น โดยเฉพาะใบที่มีสีเขียวมากสุด ผิวนอกสุดด้านบนของใบจะมีสารเคลือบผิวที่เรียกว่า คิวทิเคิล (Waxy Cuticle) เคลือบไว้ มีลักษณะเป็นมัน แห้ง เรียบ ป้องกันการระเหยของน้ำ รากจะรับเอาออกซิเจนจากอากาศผ่านเข้าไปตามช่องว่างระหว่างอนุภาคของดิน ผ่านเข้าสู่ขนราก ออกซิเจนผ่านเข้าสู่ไซโทพลาสซึมของขนรากแล้วแพร่กระจายไปยังเซลล์ข้างเคียงต่อไป คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์จะแพร่ออกในทิศทางตรงข้ามกับออกซิเจน 3. ระบบสืบพันธุ์การสืบพันธุ์(Reproduction) เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตในการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไว้ ประเภทของการสืบพันธุ์การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) หมายถึง การสืบพันธุ์ที่ต้องมีการผสม ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ คือ ดอกดอก คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่เจริญและเปลี่ยนแปลงมาจากกิ่ง เพื่อการสืบพันธุ์ ดอกมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นชั้นนอกสุดของดอก มักมีขนาดเล็กและมีสีเขียว มีหน้าที่ป้องกันดอกอ่อนที่ตูม 2) กลีบดอก (Petal) เป็นชั้นที่สวยงาม มักมีขนาดใหญ่กว่ากลีบเลี้ยง ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยในการผสมเกสร 3) เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ก้านเกสรตัวผู้และอับเรณู ภายในอับเรณู จะมีละอองเรณูซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ 4) เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นชั้นในสุดของดอก ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมียอยู่ส่วนบนสุด ส่วนล่างที่พองเป็นกระเปาะ เรียกว่า รังไข่(Ovary) ตั้งอยู่บนฐานรองดอก ภายในรังไข่มี ออวุล (Ovule) ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ภายใน ออวุล จะสามารถแบ่งตัวเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ต่อไปประเภทของดอก ดอกไม้แม้จะมีรูปร่างแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน ถ้านำส่วนประกอบของดอกไม้มาแบ่งตามเกณฑ์ โดยใช้เกณฑ์ใหญ่ๆ 2 เกณฑ์ ได้แก่ใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ แบ่งดอกออกเป็น 2 ชนิด 1) ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect Flower) หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ข้าว มะม่วง กุหลาบ ชบา ต้อยติ่ง มะเขือ พริก บัว ผักบุ้ง และมะลิ เป็นต้น 2) ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect Flower) หมายถึง ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ข้าวโพด ตำลึง ฟักทอง มะละกอ เงาะ และมะยม เป็นต้นการใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ แบ่งดอกออกเป็น 2 ชนิด 1) ดอกครบส่วน (Complete Flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ชั้น คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เช่น กุหลาบ ผักบุ้ง ชบา มะลิ และ แค เป็นต้น 2) ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete Flower) หมายถึง ดอกที่มีส่วนประกอบไม่ครบ ทั้ง 4 ชั้น เช่น ข้าวโพด กล้วยไม้ เฟื่องฟ้า บานเย็น มะละกอ ตำลึง ฟักทอง แตงกวา บวบ และข้าว เป็นต้นสรุปได้ว่า ดอกครบส่วนคือดอกสมบูรณ์เพศ ดอกไม่ครบส่วนจะเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศเสมอ การถ่ายละอองเรณู (Pollination) หมายถึง การที่ละอองเรณูที่แก่จัดแล้วปริแตกออกจากอับละอองเรณู ปลิวไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย การถ่ายละอองเรณูถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสืบพันธุ์ของพืช การถ่ายละอองเรณูเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยอาศัย ลม น้ำ และสัตว์ เช่น นก แมลง และมนุษย์ จำแนกออกเป็น 2 ชนิดคือ1) การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน (Self Pollination) โดยละอองเรณูไปตกบนยอดเกสรตัวเมียภายในดอกเดียวกัน 2) การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก (Cross Pollinationโดยละอองเรณูจากดอกหนึ่งไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของอีกดอกหนึ่ง การงอกของละอองเรณู เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีสารละลายน้ำตาล จะทำให้ละอองเรณูงอกเป็นหลอดยาวแทงไปตามก้านเกสรตัวเมีย เพื่อเข้าไปผสมพันธุ์กับเซลล์ไขใน ออวุล โดยละอองเรณู 1 เซลล์ จะเข้าผสมกับ ออวุล 1 อัน ดังนั้น ดอก ซึ่งมี ออวุล หลายอัน ก็ต้องมี ละอองเรณูหลายเซลล์เข้ามาผสมด้วย2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction) พืช นอกจากจะขยายพันธุ์โดยอาศัยดอกแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยดอก โดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ไปปักชำ ทาบกิ่งตอน ต่อกิ่ง ติดตา เป็นต้นตัวอย่างการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ การแตกหน่อ (Budding ) เริ่มต้นจากนิวเคลียสของเซลล์แบ่งจนได้เซลล์ใหม่ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับเซลล์เดิม เซลล์เหล่านี้จะเจริญเป็นหน่อที่มีขนาดเล็กก่อนเมื่อหลุดออกมาจากตัวแม่ จะเจริญเป็นอิสระทำให้ขนาดและรูปร่างเหมือนกับตัวแม่ทุกประการการสร้างสปอร์ (Sporulation) พบในเห็ด รา สาหร่าย และพืชชั้นต่ำบางชนิด เช่น มอส เฟิร์น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ซึ่งทำได้โดยการตัดเอาตาอ่อน ยอดอ่อน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่เห็นว่าเป็นพันธุ์ดีและต้องการจะขยายพันธุ์ แล้วนำไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ เมื่อตาอ่อนหรือส่วนของพืชแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์ แล้วตัดแบ่งไปเจริญเป็นต้นใหม่ได้อีก นิยมทำฝนพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ มะพร้าว เป็นต้นที่มา http://weerasak.net/ch_3.html
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

1. การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกสิ่งเร้าภายนอกที่พืชได้รับจะไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตกระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของพืชในปริมารที่ไม่เท่ากัน มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ทำให้มองเห็นว่าพืชมีการเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 แบบ คือ การเคลื่อนไหวแบบนาสติกและการเคลื่อนไหวแบบทรอฟิก1.1 การเคลื่อนไหวแบบนาสติกการเคลื่อนไหวแบบนาสติก เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ไม่ว่าสิ่งเร้าที่มากระตุ้นในทิศใด ๆ พืชก็จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับการกระตุ้นนั้นเหมือนเดิม ได้แก่ การหุบและการบานของดอกไม้ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการได้รับหรือไม่ได้รับแสง โดยไม่สัมพันธ์กับทิศทางของแสง กล่าวคือไม่ว่าแสงจะมาในทิศทางใด การหุบและการบานของดอกไม้ก็ยัคงเหมือนเดิม เช่น ดอกบัวจะบานในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ส่วนดอกกระบองเพชรจะหุบในเวลากลางวันและจะบานในเวลากลางคืนนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายการหุบและการบานของดอกไม้ไว้ดังนี้· การหุบของดอกไม้ เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านใน· การบานของดอกไม้ เกิดจรากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านในของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกจากคำอธิบายข้างต้นนั้นจะมีแสงเป็นสิ่งเร้ามากระตุ้นให้กลุ่มเซลล์ด้านนอกและด้านในมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการหุบและการบานของดอกไม้ นอกจากแสงแล้วยังพบว่าการหุบและบานของดอกไม้สามารถถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าชนิดอื่น ๆ ได้แก่ อุณหภูมิ สารเคมี และการสัมผัส เช่น อุณหภูมิกระตุ้นการหุบและบานของดอกบัวสวรรค์ คือดอกบัวสวรรค์จะบานเมื่ออุณหภูมิสูงและจะหุบเมื่ออุณหภูมิต่ำลง1.2 การเคลื่อนไหวแบบทรอฟิกการเคลื่อนไหวแบบทรอฟิก เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นใน 2 ลักษณะ คือ การเคลื่อนไหวเข้าหาสิ่งเร้าและการเคลื่อนไหวหนีจากสิ่งเร้าการตอบสนองของพืชแต่ละชนิด แต่ละส่วนจะแตกต่างกันไป ถึงแม้จะมีสิ่งเร้าจากภายนอกที่มากระตุ้นเป็นชนิดเดียวกันก็ตาม ดังตัวอย่างต่อไปนี้1) แสงเป็นสิ่งเร้า เช่น ยอดพืชจะเจริญเข้าหาแสง รากพืชจะเจริญในทิศทางหนีแสง2) แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น ลำต้นจะเจริญในทิศทางหนีแรงโน้มถ่วงของโลก การงอกของรากเกิดในทิศทางเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก3) สารเคมีเป็นสิ่งเร้า เช่น การงอกหลอดเรณูเข้าไปในออวุลเข้าหาสารละลายน้ำตาลที่อยู่ภายในออวุล4) น้ำเป็นสิ่งเร้า เช่น รากของพืชจะเจริญในทิศทางเข้าหาน้ำหรือความชื้นสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะแสดงพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งแวดล้อมได้เสมอ พฤติกรรมบางอย่างก็สังเกตได้ง่าย บางชนิดก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่บางชนิดก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่บางชนิดก็ตอบสนองช้าแตกต่างกันไป โดยกลไกการเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตจะสลับซับซ้อนเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกและระบบประสาท พฤติกรรมของพืชเป็นพฤติกรรมที่สามารถสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เพราะพืชยังไม่มีระบบประสาท พืชชนิดเดียวกันจึงมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน จากการศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆทำให้เราเข้าใจถึงเหตุผลและกลไกการเกิดพฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกระบบประสาทส่วนกลาง หรือศูนย์รวบรวมข้อมูลและออกคำสั่งและหน่วยปฏิบัติงานหรือหน่วยสนองความรู้สึกของสัตว์ชนิดต่างๆ สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบประสาท หรือระบบประสาทยังไม่เจริญดี ก็จะมีหน่วยรับความรู้สึก หรือใยประสาทซึ่งไวต่อสิ่งเร้าหลายชนิดเป็นตัวควบคุมการเกิดพฤติกรรม พฤติกรรมแบบต่างๆของสัตว์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ต้องผ่านการเรียนรู้มาก่อน จึงมีแบบแผนเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดออกเป็นแบบตางๆ ดังนี้ 1.1 พฤติกรรมแบบไคนีซิส เป็นพฤติกรรมที่เข้าหา หรือเคลื่อนหนีต่อสิ่งเร้า มีทิศทางไม่แน่นอน 1.2 พฤติกรรมแบบแทกซิส เป็นพฤติกรรมทีที่เข้าหา หรือเคลื่อนหนีต่อสิ่งเร้า มีทิศทางแน่นอน เช่นการเคลื่อนที่เข้าหาแสง 1.3 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อมีผงเข้าตาก็จะกระพริบตา 1.4 พฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากพฤติกรรมย่อยหลายๆพฤติกรรม ซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ที่ไปกระตุ้นปฏิกิริยาอื่น ของระบบประสาทให้ทำงาน เช่นการดูดนมของลูกอ่อน จะมีสิ่งเร้าคือ ความหิว2.พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลัง สัตว์แต่ละชนิดมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่ สัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดีจะเรียนรู้ได้ดีพฤติกรรมบางอย่าง สัตว์จะต้องมีประสบการณ์จึงแสดงพฤติกรรมออกมา ตัวออย่างเช่น เมื่อนำแมลงปอมาแขวนไว้ด้านหน้าของคางคก คางคกจะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมาผู้ทดลองได้นำแมลงชนิดหนึ่งเรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนแทนคางคกก็กิน แต่ถูกผึ้งต่อย ต่อมาผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนปรากฎว่าคางคกไม่กินแมลลงรอบเบอร์และผึ้งอีกเลย2.1 ความเคยชิน เป็นการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนในที่สุดไม่ตอบสนองเลยแม้จะได้รับการกระตุ้นอยู่เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นๆไม่มีผลต่อตัวเอง เช่น นกทำรังข้างถนน เมื่อได้ยินเสียงรถก็จะบินหนี แต่พอนานวันเข้าก็จะรู้ว่าเสียงรถไม่ได้มีผลต่อตนเอง จึงเกิดความเคยชินและหายกลัวไปในที่สุด 2.2 การลองผิดลองถูก เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการทดลองทำ โดยไม่รู้ว่าผลของพฤติกรรมนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ถ้าผลของการทดลองนั้นถูกต้องเป็นที่พอใจหรือได้รับรางวัล มันก็จะกระทำสิ่งเดิมนั้นอีก แต่ถ้าผลการทดลองไม่ถูกต้องหรือเป็นที่พอใจ หรือได้รับโทษมันก็จะไม่กระทำสิ่งนั้นอีก2.3 การใช้เหตุผล เป็นพฤติกรรมที่ดัดแปลงมากจากพฤติกรรมการลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ค่อยๆเกิดขึ้นในสัตว์ แต่การใช้เหตุผลเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นความสามารถของสัตว์ที่ตอบสนองอย่างถูกต้องได้ในครั้งแรกต่อสถานการณ์ที่ต่างออกไปจากประสบการณ์เก่าที่เคยประสบมา สัตว์สามารถนำการเรียนรู้เก่าที่ได้จากสถานการณ์แบบอื่นมาใช้ในการแก้ปัญหาใหม่ที่เผชิญได้เช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรืออยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไปไม่ถึง ชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาโดยนำลังไม้มาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วยพฤติกรรมของพืช เป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเพราะพืชยังไม่มีระบบประสาทสำหรับการรับรู้ พืชสามารถตอบสนองต่อการเปลียนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เนื่องจากถูกกำหนดด้วยหน่วยทางพันธุกรรมให้มีแบบแผนที่คงที่แน่นอน ไม่สามารถดัดแปลงหรือปรับปรุงให้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น พฤติกรรมของพืชมีแบบแผนง่ายๆ ส่วนใหญ่แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องมาจากการเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ พฤติกรรมของพืชส่วนมากมีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชต่างชนิดกัน ตัวอย่างพฤติกรรมได้แก่1. พฤติกรรมต่อแสงการเอนเข้าหาหรือหนีออกตามทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นภายนอก เช่น ปลายยอดของพืชส่วนใหญ่จะเอนเข้าหาแสง นอกจากแสงสว่างแล้ว สิ่งเร้าประเภทอื่นก็อาจจะมีผลทำให้ส่วนต่างๆของพืชแสดงพฤติกรรมแบบโพรโทพลาสซึมได้ เช่น การเจริญของลำต้นหนีแรงดึงดูดของโลก การเจริญเข้าหาแรงดึงดูดของโลก2. พฤติกรรมต่อการสัมผัสเป็นพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของพืชที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้นด้วยการสัมผัส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์ เช่น การหุบของไมยราบ การหุบใบจับแมลงของต้นกาบหอยแครง การเปิดของปากใบ3. พฤติกรรมต่อน้ำและอุณหภูมิการตอบสนองต่อภาวะอากาศแห้งแล้งของพืชด้วยการหลุดร่วงของใบในฤดูหนาวเพื่อลดการคายน้ำ นอกจากนี้แสงยังเป็นตัวกระตุ้นให้การออกดอกและผลของพืชตามฤดูกาลที่มีระยะเวลากลางวันและกลางคืนยาวไม่เท่ากัน
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร./รอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบภาค ก ผอ.ร.ร.และรอง ผอ.ร.ร. สมัคร 29 ก.ค.-2 ส.ค.นี้
ประกาศรับสมัคร+รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
ที่มาhttp://www.kroobannok.com/15842
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
บทความที่เก่ากว่า
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)